วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

มารู้จัก Routing Table กันครับ

Router(เราท์เตอร์) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ 3 เหมือนกับ Hub และ Switch โดยเราท์เตอร์จะมีความฉลาดกว่า จะอ่านAddressของปลายทางที่ Header ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดเส้นทางที่จะส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป ซึ้งในRouterจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็กเก็ต เรียกว่า Routing Table ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่ Router ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด ไปยังปลายทาง ถ้าเส้นทางหลักเกิดการขัดข้อง Router ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้

Routing Table เป็นตารางข้อมูลของเส้นทางการส่งผ่านข้อมูล เพื่อใช้พิจารณาการส่งผ่านข้อมูล ในการได้มาของ Routing Table มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

  1. Static Route คือ การเพิ่มเส้นทางใน Routing Table ด้วยผู้ดูแลเนตเวิร์คเอง เพื่อให้เราท์เตอร์ทราบว่า เมื่อต้องการส่งข้อมูล ไปที่ Subnet Address ใด จะต้องส่งผ่าน Router ตัวไหน ค่าเส้นทางที่ป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆบนเครือข่าย ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์ค ต้องเข้าไปจัดการทั้งหมด ซึ้งเหมาะกับองค์กรขนาดเล็ก ที่ต้องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารที่ส่งจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว โดยไม่ต้องใช้ software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้นและประหยัดการใช้ แบนวิดท์บนเครือข่ายได้มาก
  2. Dynamic Route เป็นการใช้ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่าง Router หลักการทำงาน คือ Router จะส่ง Routing Tableที่สมบูรณ์ของตัวเอง ให้กับ Router เพื่อนบ้าน หรือเรียกว่า มีRouting Protocol ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน Routing Table เอง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล Routing Table ใน Router เลย ซึ้งมีความเหมาะสมกับเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะ Router สามารถจัดการหาเส้นทางเอง หากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่าย
    • โดย Routing Protocol จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ซึ้่งทั้งสองตัวนี้ต่างมีจุดประสงค์ที่เหมือนกัน ก็คือ การทำให้เราท์เตอร์ปัจจุบันมีตาราง Routing Table ที่ประกอบด้วยเส้นทางที่ดีที่สุดที่สามารถส่งข้อมูลไปถึงซับเนตแอดเดรสปลายทางทั้งหมดได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันจะอธิบายต่อไปดังนี้
      • โปรโตคอลตัวแรก คือ RIP (Routing Information Protocol) หรือ Distance Vector คือ การที่ Router จะเรียนรู้โครงสร้างเน็ตเวิร์คและซับเนตแอดเดรสปลายทางต่างๆโดย อาศัยการแลกเปลี่ยนตารางเราท์ติ้งเทเบิลกับตารางเราท์ติ้งเทเบิลของเพื่อนบ้าน เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าเราท์เตอร์ของเพื่อนบ้าน รู้จักกับซับเนตแอดเดรสอะไรบ้าน เพื่อที่จะอัพเดตตารางเราท์ติ้งเทเบิลของตนเอง ว่าถ้ามีแพ็กเก็ตที่มีแอดเดรสปลายทางเป็น Subnet Addrest ที่เพื่อนบ้านรู้จักก็จะส่งต่อแพ็กเก็ตนั้นไปให้เราท์เตอร์เพื่อนบ้านตัวดังกล่าวเลย
      • โปรโตคอลตัวต่อมา คือ OSPF (Open Shortest Part Test) หรือ Link State คือ เราท์เตอร์จะส่งข้อมูลอินเตอร์เพสทั้งหมดของมันไปให้กับเราท์เตอร์เพื่อน้บาน เพื่อให้เราท์เตอร์เพื่อนบ้านคำนวณหาเส้นทางที่ดีที่สุดเอง ซึ้งเราท์เตอร์จะไม่รู้จักแค่เราท์เตอร์เพื่อนบ้านแต่จะรู้จักเราท์เตอร์ข้างเคียงด้วย ทำให้เราท์เตอร์สามารถเห็นภาพรวมทั้งหมดของเน็ตเวอร์เป็นอย่างดี
      • (ซึ้งข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน) คือ Distance Vector จะเชื่อเราเตอร์เพื่อนบ้านเป็นหลัก เพื่อนบ้านอัพเดตข้อมูลใดมา ก็จะอัพเดตเราท์ติ้งเทเบิลของตัวเองไปตามนั้น แต่ถ้าเป็น Link State เราท์เตอร์จะพยายามหาแผนผังเครือข่ายทั้งหมดด้วยตนเองก่อนแล้วค่อยมาหาเส้นทางที่ดีที่สุดภายหลัง
แหล่งที่มาและขอขอบคุณ :: คุณจุ๊ฟจีฟ แห่งบอร์ด Riverplusblog (http://www.riverplus.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น